สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ได้รับการสถาปนาขึ้นเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2502 โดยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และทางวิชาการระหว่างรัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันกับรัฐบาลไทยอันเป็นความร่วมมือในการพัฒนา การศึกษาทางด้านช่างอุตสาหกรรม โดยจัดตั้งโรงเรียนเทคนิคพระนครเหนือ (Thai - German Junior Technical Institute) ขึ้นซึ่งเปิดหลักสูตร ระดับช่างฝีมือเพื่อผลิตช่างอุตสาหกรรม ในสาขาต่างๆ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม เดิมเป็น ภาควิชาหนึ่งสังกัดวิทยาลัยเทคนิคไทยเยอรมัน ซึ่งก่อตั้ง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2512 และต่อมาวิทยาลัยเทคนิคไทยเยอรมันแห่งนี้ ได้ยกระดับเป็น สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าสังกัดทบวง มหาวิทยาลัยในปี พ.ศ.2514 โดยมีวิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และวิทยาเขต ธนบุรี รวมอยู่ด้วย ต่อมาในปี พ.ศ. 2529 สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าพระนครเหนืออย่างแท้จริง คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ ได้เริ่ม รับนักศึกษา ในปี2512 ในหลักสูตร ครุศาสตร์อุตสาหกรรม บัณฑิตสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลและสาขาวิศวกรรม. ไฟฟ้า และในปี พ.ศ 2512 - 2522 คณะได้รับความช่วยเหลือจาก รัฐบาล สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันด้าน เครื่องมือ อุปกรณ์การสอนผู้เชี่ยวชาญ ตลอดจนทุนการศึกษา ดูงาน และฝึกอบรม นับตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2512 เป็นต้นมาคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม และวิทยาศาสตร์ ได้พัฒนาและเจริญก้าวหน้าในทุก ๆ ด้านทั้งทางด้านบุคลากร อาคารสถานที่การบริหารและ การจัดการ ตลอดจน ด้านวิชาการทั้งแนวกว้าง และแนวลึก คณะได้เปิดรับนักศึกษาในสาขาวิชาต่าง ๆ ตามลำดับดังนี้
- เปิดสอนหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเทคนิคศึกษา
ปัจจุบันคณะวิทยาศาสตร์ได้แยกออกไป
"การพัฒนาครู คือ การพัฒนาช่าง"
ภาควิชาครุศาสตร์เครื่องกล มุ่งมั่นที่จะผลิตและพัฒนาครูช่างที่มีความเป็นเลิศทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงนักการศึกษาชั้นสูงที่สามารถชี้นำวงการอาชีะวและเทคนิคศึกษาของประเทศ
ภาควิชาครุศาสตร์เครื่องกลจะพัฒนาสู่ภาควิชาชั้นนำ เป็นต้นแบบในการผลิตบัณฑิตครูช่างอุตสาหกรรมและนักการศึกษาชั้นสูงด้านอาชีวะและเทคนิคศึกษา เป็นที่ยอมรับในระดับประเทศ ทั้งในเรื่องวิทยาการและรูปแบบการจัดการด้านครูช่างที่สมบูรณ์แบบ
1. เป็นแหล่งผลิตครูช่างอุตสหากรรม สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลที่มีความรู้ ทักษะและเจตคติที่ดี เพื่อเป็นครูผู้สอนในสถาบันอาชีวะและเทคนิคศึกษา ทั้งในภาครัฐและเอกชน
2. เป็นแหล่งผลิตนักวิชาการชั้นสูงทางด้านช่างอุตสาหกรรม จากช่างอุตสาหกรรม ครูช่างอุตสาหกรรมครูช่างอุตสาหกรรมที่สามารถวิจัยและพัฒนาศาสตร์ในวงการอาชีวะและเทคนิคศึกษา
3. เป็นแหล่งพัฒนาบุคลากรซึ่งประจำการในสถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐและเอกชนให้มีสมรรถภาพด้านการอาชีวะและเทคนิคศึกษาชั้นสูงขึ้น